ประเภทของภูมิปํญญา

 ภูมิปัํญญาไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ชาติ และระดับท้องถิ่น
1. ภูมิปัญญาระดับชาติ
เป็นภูมิปัญญาที่พัฒนาสังคมไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอดีต
เช่น การกอบกู้เอกราชโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการเสียแผ่นดินบางส่วนของประเทศไทย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจึุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรักษาเอกราชชาติไทย ทำให้ประเทศไทยไม่ตกเป็น
เมืองขึ้นของชาติตะวันตกในยุคล่าอณานิคม หรือจักรวรรดินิยม             
 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน คือสิ่งที่แสสดงความรู้ ความคิดและการกระทำของบรรพบุรุษของเรา เพื่อที่ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

ประเภทของภูมิปัญญาไทย

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2541) ได้แบ่งสาขาหรือประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ 11 สาขาดังนี้
1. สาขาเกษตรกรรม
2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
3. สาขาการแพทย์แผนไทย
4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน
6. สาขาสวัสดิการ
7. สาขาศิลปกรรม
8. สาขาการจัดการองค์กร
9. สาขาภาษาและวรรณกรรม
10. สาขาศาสนาและประเพณี
11. สาขาการศึกษา
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2535) แบ่งประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ดังนี้
1. ภูมิปัญญาด้านการเกษตร
2. ภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจ
3. ภูมิปัญญาด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความเชื่อ
4. ภูมิปัญญาด้านการจัดการทรัพยากรและการพัฒนาหมู่บ้าน
5. ภูมิปัญญาด้านศิลปะ
6. ภูมิปัญญาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
7. ภูมิปัญญาด้านภาษาและวรรณกรรม

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/evolution_of_thai_art/14.html

  1. ภูมิปัญญาด้านคติธรรม ความคิด ความเชื่อ หลักการที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้
    ที่เกิดจากการสั่งถ่ายทอดกันมา
    2. ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นแบบแผนการ
    ดำเนินชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
    3. ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพในท้องถิ่น ที่ยึดหลักการพึ่งตนเองและ
    ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย
    4. ภูมิปัญญาด้านแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่
    ที่ชาวบ้านนำมาดัดแปลงใช้ในชุมชนอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่
    นอกจากนี้ยังมีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทย เพื่อนำภูมิปัญญาไทยมาใช้
    ในการเรียนรู้และส่งเสริมโดยแบ่งภูมิปัญญาออกเป็น 10 สาขา ดังนี้
    1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และ
    เทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม
    สามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่าง ๆได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน
    การแก้ปัญหาการเกษตร
    การแก้ปัญหาด้านการผลิต ด้านการตลาด เช่น การแก้ไขโรคและแมลง การรู้จักปรับใช้
    เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร เป็นต้น
    2.สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิติและการบริโภค) หมายถึง
    การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อชะลอการนำเข้าตลาด
    เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นขบวนการ
    ใช้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่าย
    ผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารากลุ่มโรงสี
    กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น
    3.สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษา
    สุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองทางสุขภาพและอนามัยได้
    4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อม หมายถึงความสามารถเกี่ยวกับ
    การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ พัฒนาและใช้ประโยชน์
    จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
    5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการ ด้านการ
    สะสมและบริหารกองทุนและธุรกิจชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อเสริมสร้าง
    ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของสมาชิกในชุมชน
    6.สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดการสวัสดิการในการประกันคุณภาพ
    ชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม
    7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางศิลปะสาขาต่าง ๆเช่น
    จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศีลป์ เป็นต้น
    8.สาขาการจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่าง ๆ
    ทั้งองค์กรชุมชน องค์ทางศาสนา องค์กรทางการศึกษา ตลอดทั้งองค์กรทางสังคมอื่น ๆ
    ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน ระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน การจัด
    ศาสนสถาน การจัดการศึกษา ตลอดทั้งการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น กรณีการจัดการ
    ศึกษาเรียนรู้นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความ สำคัญ เพราะการจัดการ
    ศึกษาเรียนรู้ที่ดี หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ทางภูมิปัญญา
    ไทยที่มีประสิทธิผล
    9.สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถสร้างผลงานทางด้านภาษา
    ทั้งภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท
    10.สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำ
    สอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีค่าให้ความเหมะสมต่อการประพฤติ
    ปฏิบัติ

http://www.baanmaha.com/community/threads/27948-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2